วันอาทิตย์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2562

Learning Record 3
21 August 2562


The knowledge gained

อาจารย์ให้นั่งเป็นกลุ่มนั่งแบ่งเป็นกลุ่ม ดิน น้ำ ลม จักรกล นั่งประจำกลุ่มของตัวเองเพื่อนสรุป มี 4 หัวข้อ
1.       ที่มา
2.       ประเภท
3.       การดูแลรักษา
4.       ประโยชน์

กิจกรรมที่ 1
         
         สรุปเรื่องที่กลุ่มได้แล้วโพสลงในกระดานส่งงาน เช่น เรื่อง น้ำ

เรื่อง น้ำ
แหล่งน้ำ หรือ พื้นที่น้ำ คือบริเวณที่มีการสะสมของน้ำบนพื้นผิวโลกหรือบนผิวดาวเคราะห์ เช่น มหาสมุทร ทะเล แม่น้ำ ไปจนถึง คลอง หรือ พื้นที่ชุ่มน้ำ

ประเภทของน้ำ แบ่งเป็น2ประเภท
1.ธรรมชาติ
1. แหล่งน้ำในบรรยากาศ (Atmospheric Water) ได้แก่ สถานะไอน้ำ เช่น เมฆ หมอก สถานะของเหลว ได้แก่ ฝน และน้ำค้าง และสถานะของแข็ง ได้แก่ หิมะ และลูกเห็บ
2. แหล่งน้ำผิวดิน (Surface Water) ได้แก่ น้ำในบรรยากาศที่กลั่นตัวเป็นหยดน้ำและตกลงสู่ผิวโลก ไหลลงมาขังตามแอ่งที่ต่ำ เช่น หนอง บึง แม่น้ำ ทะเล ทะเลสาบ
3. แหล่งน้ำใต้ดิน (Ground Water) เป็นน้ำที่ไหลซึมผ่านชั้นดิน และหิน ลงไปสะสมตัวอยู่ตามช่องว่างระหว่างอนุภาคดินและหิน
4. น้ำที่เป็นส่วนประกอบทางเคมี (Chemical Water) ได้แก่ น้ำที่เป็นองค์ประกอบทางเคมี หรือเป็นองค์ประกอบในแร่ หิน และดิน และแหล่งน้ำในบรรยากาศ
2.แหล่งน้ำที่มนุษย์สร้างขึ้น
1. บ่อน้ำ
2. อ่างเก็บน้ำ
3. เขื่อน

คุณสมบัติของน้ำ ได้แก่
น้ำเป็นของเหลวที่ไม่มีรส ไม่มีกลิ่น ที่อุณหภูมิและความดันปกติ สีของน้ำตามธรรมชาติเป็นสีโทนน้ำเงินอ่อน ๆ แม้ว่าน้ำจะดูไม่มีสีเมื่อมีปริมาณน้อย ๆ ก็ตาม น้ำแข็งก็ดูไม่มีสีเช่นกัน และสำหรับน้ำในสถานะแก๊สนั้นโดยปกติเราจะมองไม่เห็นมันเลย

การดูแลรักษาแหล่งน้ำ
1. บำบัดน้ำเสียและดูแลระบบบำบัดน้ำเสียให้สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง
2. ใช้บ่อดักไขมันและนำไขมันไปจัดการให้ถูกต้อง
3. ลดปริมาณและความสกปรกของเสียและน้ำเสียที่ระบายจากสถานประกอบการ หรือแหล่งกำเนิดมลพิษประเภทต่างๆ โดยการลดปริมาณน้ำใช้ การนำน้ำที่ผ่านการบำบัดแล้วไปใช้ประโยชน์ในด้านอื่นๆอีก โดยเฉพาะการเกษตรในพื้นที่ข้างเคียง
4. ไม่ทิ้งขยะมูลฝอย น้ำเสียและของเสียลงสู่แหล่งน้ำและทางระบายน้ำสาธารณะ

ประโยชน์ของน้ำ
น้ำเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับชีวิตทุกชีวิต ไม่ว่าจะเป็นมนุษย์ สัตว์เล็กหรือสัตว์ใหญ่ ตลอดจนพืชถ้าขาดน้ำก็จะต้องแห้งเหี่ยวและเฉาตายในที่สุด มนุษย์ต้องใช้น้ำสัมพันธ์อยู่กับชีวิตประจำวันอย่างเห็นได้ชัด เช่น ใช้น้ำสำหรับดื่ม ใช้หุงต้มอาหาร ใช้ชะล้างสิ่งสกปรกต่าง ๆ ใช้ซักเสื้อผ้า ใช้ในเครื่องทำความร้อน เครื่องลดความร้อน เช่นในโรงงานอุตสาหกรรมบางประเภท และใช้กับเครื่องปรับอากาศ เป็นต้น

กิจกรรมที่ 2
         
   ให้สมาชิกในกลุ่มคิดของเล่นเดี่ยว ในแต่ละกลุ่ม เป็นของเล่นที่เด็กสามารถทำเองได้และเล่นได้ กลุ่มของดิฉันได้เกี่ยวกับน้ำ

ของเล่น
1.       เรือดำน้ำ
2.       น้ำในน้ำ
3.       น้ำ 7 สี
4.       น้ำพุจำลอง


คำศัพท์
1.       Benefit                               ประโยชน์
2.       Water                                 น้ำ
3.       Provenance                         ที่มา
4.       Category                            ประเภท
5.       Nature                                ธรรมชาติ


ประเมินตนเอง : ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน อธิบาย
ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆตั้งใจฟังที่อาจารย์สอนและชี้แนะ
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์สอนได้เข้าใจ ตรงตามสิ่งที่ต้องเรียน


Learning Record 2
16 August 2562


The knowledge gained

อาจารย์ได้ให้จับกลุ่ม 6 กลุ่มๆละเท่าๆกัน อาจารย์ได้มีสื่อมาสอนเราใหม่โดยจะสะสมงานงานและส่งงานในห้องลงในกระดาน

กิจกรรมที่ 1

1. อาจารย์ให้ถ่ายรูปสมาชิกและเขียนชื่อสมาชิกลงบนกระดาน
2. ให้แต่ละคนสรุปว่ารายวิชานี้ ต้องเรียนอะไรบ้างในวิทยาศาสตร์ สามารถตอบตามความเข้าใจเราได้ โดยไม่มีถูกม่มีถูกและไม่มีผิด


 กิจกรรมที่ 2

อาจารย์พูดถึงวิธีการำไปสอนเด็ก เช่น เราสามารถนำสิ่งรอบตัวหรือใกล้ตัวเด็กๆไปสอนได้อย่างไรบ้าง อาจารย์เลยให้ฝึกสมาธิ โดยการร้องเพลงและทำท่าฝึกสมาธิ คือ เป็นการสอนแบบอนุกรม
ให้นักศึกษาเลือกเพลงมา  1 เพลง ร้องเพลงพร้อมปรบมือเข้าจังหวะ คือเพลงช้าง และสิ่งที่เรานำไปสอนต้องเป็นมาตรฐานโดยทั่วไป เช่น การร้องเพลงไม่ควรเร็วไปหรือช้าไป ควรอยู่ในระดับปกติ เรามีหน้าที่ดูแลเด็กที่อยู่ในช่วงการเจริญเติบโตของสมอง เพื่อทำให้เด็กมีคุณภาพมากที่สุด ให้ลงมือกระทำเพื่อให้สอดคล้องกับวิธีการเรียนรู้ การสอนจากง่ายไปหายากเพื่อให้สอดคล้องกับพัฒนาการเพื่อที่จะทำให้เด็กทำได้  ทำให้เด็กสนุกสนาน
             
             สรุปกิจกรรม
1.นำไปใช้สงบเด็ก
2.การทำงานของสมองทั้งสองซีกโดยการใช้เพลงมาเป็นสื่อให้เด็กมาทำกิจกรรมที่ส่งเสริมการทำงานของสมอง สอนจากง่ายไปยากตามลำดับขั้นตอน
3.การใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ทำให้เกิดวิธีการที่จะเรียนรู้ให้สอดคล้องกับพัฒนาการ

การนำไปใช้
นำไปใช้สอนเด็กในกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ และรู้จักดนตรีปกติ ต้องสม่ำเสมอ

และนำไปเชื่อมโยงเกี่ยวกับการทำงานของสมองของเด็กปฐมวัย ทั้งการทำงานของสมองซีกซ้ายและซีกขวามีความแตกต่างกัน ซึ่งการทำงานของสมองต้องเป็นไปตามลำดับขั้นตอนเป็นขั้นบันไดเหมือนกับพัฒนาการของเด็กปฐมวัยเพื่อทำให้เด็กเกิดการที่จะเรียนรู้ด้วยตัวเอง โดยใช้ประสาทสัมผัสทั้ง

 ลงมือผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5
_
ซึมซับ
_
รับรู้
_
ปรับโครงสร้างใหม่
_
เกิดการที่จะเรียนรู้
_
เพื่อการอยู่รอด

คำศัพท์

1.       Absorb                               ซึมรับ
2.       Recognize                          รับรู้
3.       Recognize                          การนำไปใช้
4.       Knowledge                         ความรู้
5.       Learning                            การเรียนรู้


ประเมินตนเอง : ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน อธิบาย
ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆตั้งใจฟังที่อาจารย์สอนและชี้แนะ
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์สอนได้เข้าใจ ตรงตามสิ่งที่ต้องเรียน


Learning Record 1
7 August 2562

The knowledge gained

วันนี้เป็นการเรียนรวม 2 Sec เพื่อแนะแนวปฐมนิเทศเกี่ยวกับรายวิชาการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย การเรียนการสอนต้องเรียนเกี่ยวกับอะไรบ้างและให้เก็บผลงานบนกระดานแนะนำวิธีการเรียนการสอนและแนะนำการทำบล็อคเป็นภาษาอังกฤษ ชี้แจงเกณฑ์ในการให้คะแนนในแต่ละส่วน และบันทึกผลงานหรือสรุปความรู้ที่ได้รับลง Blogger

ส่วนประกอบของ Blogger  มีดังนี้
-          -  Blogger  ต้องมีส่วนประกอบเป็นภาษาอังกฤษ เช่น หัวข้อต่างๆ รายวิชา คำอธิบายรายวิชา นาฬิกา ปฎิทิน บทความ วิจัย ตัวอย่างการสอน สสวท. หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
-          -  ลิ้งค์ชื่อตัวเอง ชื่ออาจารย์
-          -  มอค. 3
-          -  อื่นๆ คำศัพท์ 5 คำ














































ประเมินตนเอง : จดงานตามที่อาจารย์สั่งและตั้งใจฟังที่อาจารย์แนะนำ
ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆตั้งใจฟังที่อาจารย์แนะนำ

ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ให้คำแนะนำดี ทำให้เข้าใจในการทำบล็อคเป็นภาษาอังกฤษ


 สรุปตัวอย่างการสอน

เรื่อง : การทดลองวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย เรื่อง วัตถุจมน้ำ/ลอยน้ำ








 จากการทดลองจะมี ก้อนหิน ยางลบ ลูกเเก้ว เเละลูกปิงปอง มาให้เด็กสังเกตว่ามีสิ่งไหนบ้างที่ลอยน้ำได้ เเละมีสิ่งไหนบางที่จมน้ำ ซึ่งจากการที่คุณครูได้ทดลองนำสิ่งของที่เตรียมไว้ไปใส่ในกาละมังที่มีน้ำ ผลออกมาคือ ก้อนหิน ยางลบ เเละลูกเเก้ว จมน้ำ เเละ มีเเค่ลูกปิงปองที่ลอยน้ำ ซึ่งมาจากสาเหตุผล ลูกปิงปองมีน้ำหนักที่เบาจึงไม่มีเเรงโน้มถ่วงที่จะทำให้สามารถจมได้



วันเสาร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2562


สรุปบทความวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


เรื่อง                  :  วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย (Science for Early Childhood)
ผู้เขียน               : บุญไทย แสนอุบล
ที่มา                  :


           การเรียนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยนั้นมิใช่หมายถึงสาระทางเคมี ชีววิทยา แต่เด็กปฐมวัยนั้นจะเรียนรู้วิทยาศาสตร์จากสิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็กและธรรมชาติเป็นหลักสำคัญ ซึ่งได้แบ่งสาระทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยได้ 4 หน่วย ดังนี้
หน่วยที่ 1 การสังเกตโลกรอบตัว
หน่วยที่ 2 การรับรู้ทางประสาทสัมผัสและการรับรู้
หน่วยที่ 3 รู้ทรงและสิ่งที่เกี่ยวข้อง
หน่วยที่ 4 การจัดหมู่และการแยกประเภท

ในการเรียนหน่วยวิทยาศาสตร์ทั้ง 4 เด็กจะตั้งใช้พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ ได้แก่
1.การสังเกต
2.การจำแนกประเภท
3.การสื่อความหมาย
4.ทักษะการลงความเห็น
5. ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

             การเรียนวิทยาศาสตร์เป็นการเรียนการแก้ไขปัญหาอย่างมีเหตุผล ซึ่งกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยสามารถเรียนรู้ได้โดยครูกับเด็กช่วยกันคิดและปฏิบัติ แบ่งเป็น 5 ขั้นดังนี้
ขั้นที่ 1 การกำหนดขอบเขตของปัญหา
ครูกับเด็กร่วมกันคิดตั้งประเด็นปัญหาสิ่งที่ต้องการเรียนรู้ร่วมกัน เช่น ต้นไม้โตได้อย่างไร
ขั้นที่ 2 ตั้งสมมุติฐาน
เป็นขั้นของการวางแผนร่วมกัน ในการที่จะทดลองหาคำตอบจากการคาดเดาล่วงหน้า
ขั้นที่ 3 ทดลองและเก็บข้อมูล
เป็นขั้นตอนที่ครูกับเด็กร่วมกันดำเนินการตามแผนการทดลองตาสมมุติฐานที่ตั้งไว้ในขั้นที่ 2
ขั้นที่ 4 วิเคราะห์ข้อมูล
ครูและเด็กนำผลการทดลองมาสนทนา อภิปรายแลกเปลี่ยนความเห็นร่วมกัน
ขั้นที่ 5 สรุปผลคำตอบสมมุติฐาน ว่าผลที่เกิดคืออะไร เพราะอะไร ทำไม
กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ทั้ง 5 ขั้น เป็นกระบวนการที่ต่อเนื่งเป็นวัฏจักร ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ต้องนำมาใช้ในกระบวนการ คือ การสังเกต การจำแนกประเภทและเปรียบเทียบ การวัด การสื่อสาร การทดลอง การสรุปและการนำไปใช้

 สาระที่เด็กต้องเรียน
1.สาระเกี่ยวกับพืช เช่น พืช ต้นไม้ ดอกไม้
2.สาระเกี่ยวกับสัตว์ เช่น ประเภทของสัตว์ สวนสัตว์
3.สาระเกี่ยวกับฟิสิกส์ เช่น การจม การลอย
4.สาระเกี่ยวกับเคมี เช่น รสของผลไม้ ความร้อน
5.สาระเกี่ยวกับธรณีวิทยา เช่น ดิน ทราย หิน
6.สาระเกี่ยวกับดาราศาสตร์ เช่น ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์

เป้าหมายของการเรียนวิทยาศาสตร์
1.ให้เด็กได้ค้นคว้าและสืบค้นสิ่งต่าง ๆ และปรากฎการณ์ที่มี
2.ให้เด็กได้ใช้ประบวนการทักษะทางวิทยาศาสตร์อย่างแท้จริง
3.กระตุ้นความอยากรู้อยากเห็น ความสนใจ  และเจตคติของเด็กให้พบ
4.ช่วยให้เด็กค้นหาข้อมูลความรู้บางอย่างที่เป็นวิทยาศาสตร์ที่สัมพันธ์กับชีวิตประจำวันและการสืบค้น

หลักการจัดกิจกรรม แบ่งได้ 5 ข้อ
1.เป็นเรื่องใกล้ตัวเด็ก
2.เอื้ออำนวยให้แก่เด็กที่กระทำ
3.เด็กต้องการและสนใจ
4.ไม่ซับซ้อน
5.สมดุล